กระทบไหล่ LTF

3
117381
 LTF (Long Term Equity Fund) หรือ “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น
ระยะยาว ไม่น้อยกว่า 65%
ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน
เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน โดยอาจมีการจ่ายเงินปันผล
หรือไม่มีการจ่ายเงินปันผลคืนให้แก่ผู้ลงทุนก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของ LTF กองนั้นๆ
เงื่อนไขการลงทุน
การลงทุน LTF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
มีเงื่อนไขว่า ต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนของ LTF
ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน โดยนับแยกกันไปในแต่ละก้อนเงินที่ลงทุน
และไม่จำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในปี 2549 จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป และส่วนที่ลงทุนในปี 2550 จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2554  เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF จะต้องลงทุนภายในปี 2559
update: (26 มกราคม 2560) เงินลงทุนที่ลงทุนตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทินแล้วนะจ๊ะ!
 สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
1)
เงินลงทุนในกองทุน LTF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
สูงสุดไม่เกิน 15% ของ
เงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
           2)  กำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ แต่หากมีการลงทุนเกิน
15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร
ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) นับเฉพาะเงินลงทุนส่วนที่เกิน
ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด
5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป
และต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป พร้อมเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน
ทันทีที่ผิดเงื่อนไข  และต้องเสียภาษีสำหรับกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน
(Capital Gain) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข
สรุป :  การลงทุน LTF เหมาะกับผู้ลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระดับสูง
เนื่องจากเป็นการลงทุนในหุ้น  และพร้อมที่จะลงทุนในระยะยาว
ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ที่สำคัญผู้ลงทุนควรจัดสรรเงินมาลงทุน
โดยคำนึงถึงหลักการกระจายความเสี่ยง (Asset Allocation)   มิใช่นำเงินลงทุนทั้งหมดที่มีมาลงทุนใน LTF
เพียงอย่างเดียว และหลังจากตัดสินใจลงทุนใน LTF แล้ว ก็ไม่ควรทำผิดเงื่อนไขนะคะ ระวังจะเป็นเหมือนเม่าในตอนนี้….

 

 

 

 

3 COMMENTS

  1. ตอนนี้เป็นเรื่องของกำไร ผมถามถึงกรณีขาดทุนได้ไหมครับ อย่างเช่น ผิดเงื่อนไข แต่ว่าตลาดหุ้นตก เลยขายในราคาขาดทุนไป จะเอายอดไปคำนวณภาษีใหม่ตอนผิดเงื่อนไข กรมสรรพากรจะหักส่วนขาดทุนด้วยไหม?

Comments are closed.