ทำประกันแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้

0
87520
ถึงเวลาของเทศกาลลดหย่อนภาษีปลายปีแล้ว คนวัยทำงานหลายคนอาจกำลังมองหาประกันมาช่วยลดหย่อนภาษี แต่ประกันไม่ได้ลดหย่อนได้ทุกประเภทนะ ก่อนจะทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษีต้องลองสอบถามตัวแทนดีๆ ก่อนว่าประกันตัวนี้ลดหย่อนภาษีได้ไหม และได้เท่าไหร่
โดยสรุปมีประกัน 4 ประเภทที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จะเป็นอะไรบ้างไปดูกันเลย
 
ประกันที่ทำให้ตัวเอง 
มีประกัน 2 ประเภทที่สามารถลดหย่อนภาษี
1. ประกันชีวิต นำเบี้ยประกันมาลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 1 แสนบาท โดยประกันชีวิตต้องคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และให้ผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี และพวกอนุสัญญาต่างๆ เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ฯลฯ อะไรพวกนี้เอามาลดหย่อนไม่ได้นะ ได้แต่ตัวหลักที่คุ้มครองชีวิตเท่านั้น
ซึ่งปัจจุบันประกันชีวิตแบบนี้จะแยกย่อยออกเป็น
  • ประกันออมทรัพย์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการออมทรัพย์ ประกันนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงิน เพราะได้เงินก้อนคืนในอีก 10 ปีข้างหน้า บางกรมธรรม์อาจมีเงินคืนระหว่างปีอีกด้วย แต่ประกันประเภทนี้อาจให้ความคุ้มครองชีวิตไม่มากนัก

ตัวอย่าง : แบบประกัน iGen จ่ายเบี้ย 6 ปี คุ้มครอง 10 ปี คืนเงินปีที่ 1-10 จำนวน 2% ของจำนวนเงินเอาประกัน และคืนเงินปีที่ 10 จำนวน 178% ของจำนวนเงินเอาประกัน

นายมะเม่า ดอยเดิม อายุ 30 ปี ทำประกัน iGen จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันปีละ 30,800 บาท เป็นเวลา 6 ปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 6 ปี และได้เงินคืนปีที่ 1-10 จำนวน 2% ของเงินเอาประกันภัย คือ 2,000 บาท และได้เงินก้อนคืนปีสุดท้าย 178% ของเงินเอาประกันคือ 178,000 บาท รวมจ่ายไป 184,800 บาท ได้คืนทั้งหมด 198,000 บาท (ไม่รวมผลประโยชน์จากภาษีที่ลดหย่อนได้) แต่หากเสียชีวิตใน 10 ปีนี้จะได้เงิน 1 แสนบาท หรือเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด แล้วแต่จำนวนใดมากกว่า

  • ประกันชีวิตระยะยาว เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตจริงจัง มีคนข้างหลังที่ต้องดูแล เพราะจ่ายเบี้ยน้อยแต่ได้ความคุ้มครองเยอะ แต่จะได้เงินคืนเมื่อแก่ หรือเป็นมรดกให้ลูกหลานไปเลย

ตัวอย่าง : แบบประกัน iProtectS จ่ายเบี้ย 10 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี ได้เงินเมื่อครบกำหนดสัญญา อายุครบ 85ปี หรือเสียชีวิต

นางเม่าศรี ณ ดอยสูง เพศหญิง อายุ 30 ปี ทำประกัน iProtectS จำนวนเงินเอาประกัน 1 ล้านบาท จ่ายค่าเบี้ยประกันปีละ 33,140 บาทเป็นเวลา 10 ปี (ค่าเบี้ยประกันแต่ละคนไม่เท่ากัน คำนวณจากอายุและเพศ) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 10 ปี และเมื่อนางเม่าศรีอายุครบ 85 ปี จะได้เงินคืน 1 ล้านบาท หรือหากนางเม่าศรี เสียชีวิตก่อนอายุ 85 ปี ลูกของเม่าศรีจะได้เงิน 1 ล้านบาท

 
จากตัวอย่าง 2 แบบประกันที่ยกไป จ่ายเบี้ยประมาณ 3 หมื่นกว่าบาทต่อปีเท่ากัน แต่ ประกันออมทรัพย์ iGen คุ้มครองชีวิต 1 แสนบาท แต่ได้เงินคืนในอีก 10 ปีข้างหน้า ในขณะที่ ประกันชีวิตระยะยาว iProtectS คุ้มครองชีวิต 1 ล้านบาท แต่ได้เงินคืนตอนอายุ 85 ปี ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีต่างกัน และสามารถลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน จะทำประกันแบบไหนจึงขึ้นกับจุดประสงค์การทำประกันของแต่ละคน
2. ประกันแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท ประกันต้องให้ความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เป็นบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุ 55 ปีขึ้นไป
และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันที่ทำให้คู่สมรส
3. ประกันชีวิตของคู่สมรส จะลดหย่อนได้คู่สมรสต้องไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิต (เหมือนข้อ 1) มาลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 10,000 บาท
ประกันที่ทำให้พ่อแม่
4. ประกันสุขภาพของพ่อแม่ สามารถลดหย่อนพ่อ+แม่+พ่อคู่สมรส+แม่คู่สมรส ได้ตามจริง ทุกคนรวมกันลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท โดยพ่อแม่ที่นำมาลดหย่อนต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และถ้านำพ่อตาแม่ยายมาลดหย่อนด้วย คู่สมรสเราก็ต้องไม่มีรายได้ด้วยนะ
ก่อนจะตกลงใจทำประกันแบบไหน ต้องศึกษาให้เข้าใจว่าตรงกับความต้องการของเราไหม และควรคำนึงถึงค่าเบี้ย ว่าต้องไม่หนักจนเกินกำลัง ในอนาคตหากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เราก็ยังสามารถส่งได้ตลอดรอดฝั่ง และสำคัญคือหลังจากได้เล่มกรมธรรม์มาแล้ว อย่าลืมอ่านให้ละเอียดว่าตรงกับที่ตัวแทนขายเราไว้ไหม หากสงสัยตรงไหนต้องรีบสอบถามตัวแทนประกันให้เข้าใจ
ประกันแต่ละแบบทำมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างกัน มีข้อดีแตกต่างกันไป หากทำได้อย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะช่วยบริหารความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดได้แล้ว ประกันบางประเภทยังได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
หากกำลังมองหาแบบประกันสำหรับลดหย่อนภาษี ลองคลิกไปดูได้ที่ http://bit.ly/2fBIvFH หรือโทร 1159 นะจ๊ะ #KrungthaiAxaTaxFestival