TU ยกระดับความยั่งยืน ด้วยแหล่งเงินทุน Blue Finance

0
664

มนุษย์เรา มีชีวิตอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินเป็นหลัก จนอาจละเลยความสำคัญของผืนน้ำไป
แต่รู้หรือไม่ว่า โลกของเราประกอบด้วยผืนดินแค่ 30% แต่ประกอบด้วยผืนน้ำถึง 70% เพราะฉะนั้นแล้วก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทะเลคือแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของคนกว่า 3,000 ล้านคนบนโลกนี้

ซึ่งเรื่องนี้ ไทยยูเนี่ยน หรือ TU ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก ตระหนักดีว่า หากไม่มีทะเล ก็คงไม่มีธุรกิจอาหารทะเลเช่นกัน

แม้ว่า TU จะมีจุดเริ่มต้นมาจาก โรงงานผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเล็ก ๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร
แต่ปัจจุบัน TU กลายเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก ที่มีฐานการผลิตกระจายอยู่ใน 14 ประเทศทั่วโลก

โดย TU ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่

– กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋อง และบรรจุอื่น ๆ
– กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น
– กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

ด้วยธุรกิจของ TU ที่ผูกพันกับท้องทะเล TU จึงทำธุรกิจด้วยแนวคิด Healthy Living, Healthy Oceans คือมองว่า ธุรกิจเป็นมากกว่าอาหารทะเล แต่ยังครอบคลุมการดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ของผู้คน และ ทรัพยากรในทะเล อีกด้วย

โดยที่ผ่านมา TU ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเล มากมายเต็มไปหมด

เริ่มจากในปี 2559 TU ได้เริ่มใช้กลยุทธ์ SeaChange® 2016 เพื่อสร้างความยั่งยืนใน 4 พันธกิจ คือ

– การดูแลการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
– การจัดหาวัตถุดิบอย่างโปร่งใส
– การผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
– การดูแลผลกระทบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง

และในอีก 7 ปีต่อมา TU ก็ได้สานต่อเป้าหมาย สู่กลยุทธ์ SeaChange® 2030 ที่ยกระดับความยั่งยืน ให้ครอบคลุมการดูแลทั้งผู้คนและโลก สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติถึง 10 ประการ ยิ่งขึ้น เกิดเป็น 11 พันธกิจ

นอกเหนือจากการวางกลยุทธ์อย่าง SeaChange® แล้ว อีกปัจจัยที่จะช่วยสานต่อพันธกิจให้กับ TU ได้อย่างต่อเนื่อง ก็คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เรียกว่า “Blue Finance”

Blue Finance เป็นการจัดหาเงินทุน เพื่อทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อทรัพยากรทางทะเล ในรูปแบบเงินกู้ หรือหุ้นกู้

โดยที่อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้และหุ้นกู้ของ Blue Finance จะถูกเชื่อมโยงกับ KPIs ที่เป็นเป้าหมายด้านความยั่งยืน ได้แก่

– ได้รับการจัดอันดับ ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ DJSI ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
– ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ตามเป้า
– เพิ่มสัดส่วนการรับซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำ ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา

หมายความว่า หาก TU ทำธุรกิจและพัฒนาความยั่งยืนได้ตามเป้าเท่าไร TU ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ต่ำลง

Blue Finance นี้ นอกจากจะส่งผลดีกับบริษัท ด้วยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงแล้ว ยังเป็นการสร้างมาตรฐาน เงื่อนไข ข้อกำหนดใหม่ ๆ และจิตสำนึกที่ดี ให้กับ ภาคธุรกิจ และตลาดการเงิน เพื่อสนับสนุนในความยั่งยืนทางทะเล อีกด้วย

โดยนับตั้งแต่ ปี 2563-2565 ถือเป็น Phase 1 ของ Blue Finance ที่ TU สามารถจัดหาเงินทุน เพื่อความยั่งยืนได้มากกว่า 29,000 ล้านบาท

ทำให้ TU บรรลุเป้าหมายของบริษัทในขั้นแรก ที่ต้องการให้สัดส่วนเงินกู้ระยะยาวอย่างน้อย 50% ของบริษัท มาจากแหล่งเงินทุน Blue Finance

ในขณะที่ปี 2566 นี้ TU ก็ประสบความสำเร็จ ก้าวเข้าสู่ Blue Finance Phase 2 ด้วยการได้รับแหล่งเงินทุนส่งเสริมความยั่งยืน เพิ่มเติมอีกกว่า 11,485 ล้านบาท จาก 4 กลุ่มสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ อย่าง ธนาคารเอชเอสบีซี, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารเอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG), ธนาคารมิซูโฮ จำกัด และธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

พร้อมทั้งขยายกรอบ KPIs ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ไปจนถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างรับผิดชอบ, การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตั้งเป้าให้ Blue Finance เป็นสัดส่วนอย่างน้อย 75% ของเงินกู้ระยะยาวของบริษัท ภายในปี 2568

เพื่อตอกย้ำถึงหลักแนวคิด Healthy Living, Healthy Oceans ที่มองธุรกิจเป็นมากกว่าอาหารทะเล

ทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม, ความปลอดภัยของผู้คนและชุมชน ไปจนถึงการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม..